การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
"ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะคน"
อาชีพเบ็ดเตล็ด วันนี้ workdeena ขอแนะนำการทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์

วัสดุและอุปกรณ์
- เรซิ่นเคลือบรูป (ชื่อทางการคือ โพลิเอสเทอร์เรซิ่นชนิดไม่อิ่มตัว หรือ Unsaturated Polyester Resin) เบอร์ KC-228-W
- ซึ่งผสมตัวเร่งปฏิกิริยา (Accelerator) หรือ (Promoter) แล้วเป็นพลาสติกเหลวมีหลายสี เช่น แดง ม่วง ใสมีกลิ่นฉุน
- ตัวทำให้แข็งหรือตัวเน่งปฏิกิริยา (Catalyst หรือ Hardener) ชื่อทางเคมี MEKP มีลักษณะเหลวใสไม่มีกลิ่น กลิ่นฉุนแรงกัดมือ ระวังอย่าให้เข้าตา
- อะซิโตน (Acetone) มีลักษณะของเหลวใสไม่มีสี กลิ่นฉุนแรงกว่าทินเนอร์ ติดไฟง่าย ใช้ล้างโพลิเอสเตอร ์หรือเริซิ่นเคลือบรูป
- กรอบรูป (ไม้แผ่น) ใหญ่กว่ารูปภาพ ปรกติใช้ไม้ MDF เป็นไม้ยางพาราชนิดดี หรือใช้ไม้ PB ไม้ยูคาก็ได้
- กระดาษลายไม้ หรือลายหน้า ใช้ปิดรอบรูปเพื่อความสวยงาม
- รูปโปสการ์ด รูปถ่าย ใบประกาศ หรืออื่นๆที่ต้องการเคลือบ
- กาวลาเท็กซ์ เพื่อติดรูป และลายไม้
- ฟิล์มไมล่าร์ หนา 70-180 ไมครอน ขนาดใหญกว่าภาพอย่างน้อย 1 นิ้ว
- ลูกกลิ้งใช้รีดรูปให้เรียบ และใช้ไล่ฟองอากาศในเรซิ่น
- ถ้วยพลาสติก
- ไม้กวน
- มีดคัตเตอร์
- ขอบข้าง มีลายไม้ และสีดำ เป็นสติกเกอร์ ใช้ติดด้านข้างรูป
- ดิ้นทอง ใช้ตัดขอบรูป
- ไขควง
- น๊อต
- หูขา
- หูแขวน
- ขาตั้งพลาสติก
- กระดาษกาวย่น ขนาด 10 มิล หรือใหญกว่าด้านข้างแผ่นไม้
- กระดาษทรายน้ำ เบอร์ 150
- กาวกันซึม
การเตรียมอุปกรณ์
เตรียมรูป
- รูปที่ใช้ในการทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- รูปที่สามารถเคลือบได้ เช่น รูปถ่าย
- รูปที่ต้องการทาน้ำยากันซึมก่อนจึงจะเคลือบได้ เช่นรูปจากหนังสือนิตยาสาร ธนบัตร ใบประกาศนียบัตร รูปโปสเตอร์
การเตรียมไม้
- ไม้ที่ใช้ติดรูปเพื่อทำกรอบวิทยาศาสตร์ ได้แก่ไม้ MDF หรือเรียกว่าไม้อัด มีความหนาตั้งแต่ 3 มม. ถึง 9 มม.
- เลือกขนาดไม้ให้เหมาะสมกับรูป
- ด้านบนหรือด้านข้างจะต้องเรียบไม่ขรุขระหรือเป็นหลุม
วิธีทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
- ติดกระดาษลายไม้กับไม้อัดทั้งสองด้านโดยทากาวที่ไม้อัดตลอดทั้งแผ่นให้เรียบและไม่หนาจนเกินไป นำกระดาษลายที่ตัด
- ไว้มาติดลงบนแผ่นไม้โดยใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งให้เรียบและไม่มีฟองอากาศ ใช้คัตเตอร์ ตัดส่วนเกินจากไม้ให้ชิดขอบไม้ทุกด้าน
- ติดเทปกระดาษย่นหรือเทปใส ที่ขอบของแผ่นไม้ ไม้อัดหนา 10 มม. โดยรอบให้ขอบเทปเสมอผิวด้านบนของแผ่นไม้ที่จะ
- ติดรูปพับเทปส่วนเกินไว้ด้านหลังให้แนบติดผิวหน้าไม้ด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาเรซิ่นเกาะขอบไม้และไหลลงไปเปื้อนด้านหลังรูป
- ทากาวลาเท็กซ์ ด้านหลังของรูปให้เสมอกันไม่ต้องมากจนเกินไปเพราะจะทำให้แห้งช้า (รูปที่นำไปทากาวควรรีดให้ตรงไม่โค้ง ถ้ามีขอบเยินควรใช้มีดคัตเตอร์แต่งให้เรียบร้อยก่อน)
- ติดรูปที่ทากาวแล้วบนไม้อัดที่เตรียมไว้ ใช้ลูกลิ้งกลิ้งให้เรียบและไม่มีฟองอากาศ
- ติดดิ้นเงินดิ้นทองรอบรูปทั้ง 4 ด้าน ตามต้องการควรติดให้ชิดขอบรูป
- ทาน้ำยากันซึมในกรณีที่ไม่ใช่รูปถ่าย ทาน้ำยากันซึมควรทาประมาณ 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งจะต้องทิ้งให้แห้งเสียก่อน
- นำรูปที่เตรียมเรียบร้อยแล้ววางลงบนที่รองสูงจากพื้นประมาณ 1-2นิ้ว ควรปูกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาเรซิ่นเกาะที่ขอบไม้และไหลลงไปเลอะที่พื้น
- เทเรซิ่นเคลือบรูป KC-288 ลงในถ้วยพลาสติกที่เตรียมไว้ประมาณ 30-40 ซีซี หยดตัวทำให้แข็งลงไปประมาณ 0.5% หรือประมาณ 3-4 หยด (เรซิ่นประมาณ 1 ซีซี ต่อพื้นผิว 7-8 ตร.ซ.ม.) ใช้ไม้กวนให้เข้ากัน โดยกวนบริเวณขอบถ้วยด้วยอย่ากวนนานเกินไปเรซิ่นจะเป็นวุ้นแข็งตัวเสียก่อน ไม่เกิน 1 นาที
- ทิ้งเรซิ่นไว้ซักครู่ เพื่อให้ฟองอากาศลอยออก จึงเทเรซิ่นที่ผสมแล้วลงตรงกลางรูปนำแผ่นฟิล์ม ไมล่าร์ที่ขึงไว้กับเฟรม วางทับลงบนน้ำยาเรซิ่น แล้วใช้ลูกกลิ้ง กลิ้งบนแผ่นฟิล์ม ให้น้ำยาเรซิ่นวิ่งไปจนไม่มีฟองอากาศ(การกลิ้งจากกลางรูปออกไปทั้ง 4 ด้าน และออกแรงกดพอประมาณ ใช้เวลาในการกลิ้งไม่ควรเกิน 6 นาที)
- ทิ้งเรซิ่นให้แห้งสนิทประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือสังเกตุจากรซิ่นที่ย้อยติดด้านล่างดูจะแข็งคล้ายเม็ดข้าวสาร แห้ง หรือทดลองหยิกดูจะหยิกไม่แตก หากยังนิ่มแสดงว่ายังไม่แข็งพอ เมื่อเรซิ่นแข็งตัวแล้วให้ใช้ปากกาเมจิกสีดำทำเครื่องหมายที่มุมทั้งสี่ เพื่อที่จะได้นำฟิล์มไมล่าร์ไปใช้ในครั้งต่อไป ได้โดยสะดวกขึ้น
- เมื่อเคลือบครั้งที่หนึ่งแล้วจะเคลือบอีกกี่ทีก็ได้ แต่ต้องใช้กระดาษทรายน้ำชนิดหยาบปานกลางเบอร์ 120-140 ลูบบริเวณขอบที่เป็นลายไม้ผิวหยาบ อย่าขัดบริเวณตรงกลางรูปเพื่อให้เรซิ่นเกาะติดแน่นกับ เรซิ่นที่เคลือบครั้งแรก ผิวที่ขัดจะกลายเป็นฝ้าสีขาวอย่าตกใจเพราะเมื่อเรซิ่นครั้งที่ 2 เคลือบทับลงไปจะใสเหมือนเดิม
- ดึงเทปและเรซิ่นที่ติดขอบออก
- ใช้กระดาษทรายชนิดหยาบปานกลางพันรอบแท่งไม้รูปสี่เหลี่ยมขัดขอบให้เรียบเสมอกัน ขณะขัดไม่ควรใช้นิ้วมือกดหรือจับผิวที่เคลือบเรซิ่น เพราะอาจเกิดรอยนิ้วมือได้อันเนื่องมาจากมือสกปรก (ทางที่ดีควรใช้กระดาษหรือเทปปิดทับผิวหน้าก่อนขัด)
- ติดขอบข้างรอบรูปทั้ง 4 ด้านให้เรียบร้อย ทำความสะอาด
- ติดขาตั้งหรือโซ่แขวนกับกรอบรูป
ข้อควรระวัง
- ฮาร์ดเดนเนอร์ หรือตัวทำให้แข็ง ถ้าถูกผิวหนังควรใช้สบู่ล้างดีกว่าผงซักฟอก เพราะเป็นกรดชนิดหนึ่ง
- น้ำยาเรซิ่นมีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 เดือน ไม่ควรเก็บไว้ที่ร้อนจัด ควรเก็บไว้ที่ทึบแสง อุณหภูมิประมาณ 20-30องศาเซลเซียส
- การผสมเรซิ่นกับตัวทำให้แข็ง ถ้าอากาศร้อนควรลดปริมาณตัวทำให้แข็งลง ถ้าอากาศเย็นควรเพิ่มประมาณตัวทำให้แข็งมากขึ้น
- การคนน้ำยาไม่ทั่วถึง จะทำให้เรซิ่นแข็งตัวผสมไม่เสมอกัน
- การเก็บและทำความสะอาดแผ่นฟิล์มไมล่์าร์ ระวังอย่าให้แผ่นฟิล์มหักหรือเป็นรอย
- รูปถ่ายที่เป็นกระดาษอัดรูป ยกเว้นกระดาษพิมพ์ต่างๆ ถ้าเปื้อนกาวหรือลอยนิ้วมือใช้ทินเนอร์เช็ดทำความ สะอาดได้ แต่อย่าให้ถูกกระดาษไม้เพราะจะทำให้กระดาษลายไม้ลอกทันที
- ขอบคุณข้อมูล : http://www.vittayapun.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
มีไรสงสัยส่งเมล์คุยกันได้